วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต

อิทธพลของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม


ในสมัยก่อนที่ประชากรของมนุษย์บนโลกยังมีจำนวนเพียงเล็กน้อยนั้น การดำเนินชีวิตของมนุษย์ไม่ได้สร้างผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมแต่อย่างไร แต่ต่อมาเมื่อมนุษย์เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการพัฒนาวิถีชีวิตด้วยเทคโนโลยีให้มีความเป็นอยู่สุขสบายดี การบุกรุกสภาพสมดุลของธรรมชาติจึงเกิดขึ้นอย่างรุนแรง
ปัจจุบันนี้มนุษย์มักจะทำให้ระบบนิเวศในโลกนี้เป็นระบบนิเวศที่ธรรมดา โดยเฉพาะการเกษตรในปัจจุบันได้พยายามลดระดับต่าง ๆ ในห่วงโซ่อาหารให้เหลือน้อยที่สุด โดยการกำจัดพืชและหญ้าหลายชนิดไปเพื่อพืชชนิดเดียว เช่น ข้าวสาลี หรือข้าวโพด ซึ่งทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นแต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้ความมั่นคงระบบนิเวศลดน้อยลง หากมีโรคระบาดเกิดขึ้น โอกาสที่ระบบนิเวศจะถูกทำลายก็จะมีมาก
นอกจากนั้น บริเวณการเกษตรทั่วโลกก็นับเป็นบริเวณที่ระบบนิเวศถูกทำลายมาก ทั้งนี้เพราะมีการใช้ยากำจัดศัตรูพืชกันอย่างแพร่หลาย สารพิษที่เกิดจากการเกษตรและอุตสาหกรรมต่าง ๆ เหล่านี้จะสามารถถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตระดับสูง ๆ ได้ตามห่วงโซ่อาหาร จึงมักสะสมอยู่ในสิ่งมีชีวิตในปริมาณที่เข้มข้นกว่าที่มีในสิ่งแวดล้อมเสมอ ดังตัวอย่างของการใช้ DDT
เมื่อมีการใช้ยากำจัดศัตรูพืชในบริเวณที่หนึ่ง DDT ซึ่งเป็นส่วนผสมของยากำจัดศัตรูพืชนั้น จะตกค้างอยู่ในดินถูกชะล้างลงในแม่น้ำและสะสมอยู่ในแพลงค์ตอน เมื่อสัตว์น้ำชนิดอื่น เช่น ปลามากินแพลงค์ตอน DDT ก็จะเข้าไปสะสมในตัวปลาเป็นปริมาณมากกว่าที่อยู่ในแพลงค์ตอนและเมื่อนกซึ่งกินปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ เข้าไป ก็จะสะสมไว้ในปริมาณสูง เมื่อสัตว์อื่นมากินนกก็ยิ่งจะทำให้การสะสม DDT ในตัวมันสูงมากขึ้นไปอีก ถ้า DDT สูงขึ้นถึงขีดอันตรายก็จะทำให้สัตว์ตายได้หรือไม่ก็ผิดปกติ DDT ส่วนใหญ่จะสะสมในเนื้อเยื่อไขมันและขัดขวางการเกาะตัวของ แคลเซี่ยมที่เปลือกไข่ทำให้ไข่บางแตกง่ายและไม่สามารถฟักออกเป็นตัวได้มีรายงานว่าในประเทศสวีเดน และในประเทศญี่ปุ่นมีนกบางชนิดสูญพันธุ์ไปแล้ว เนื่องจากผลกระทบสะสมตัวของ DDT
การพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ นั้นจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศ มิฉะนั้นก็อาจจะเกิดผลเสียหายร้ายแรง ทั้งต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคมและความเป็นอยู่ของมนุษย์เอง ตัวอย่างเช่น การสร้างเขื่อนทำให้เกิดบริเวณน้ำขังจำนวนมหาศาลอาจทำให้เกิดการระบาดของโรคเนื่องจากพาหะของโรคนั้นสามารถเติบโตได้ดีในบริเวณน้ำนิ่ง
ที่มา http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi1/ecosystem/b7.htm

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต

ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต

สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต ( Abiotic Environments ) หมายถึงสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีคุณสมบัติของสิ่งมีชีวิต ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้น เช่น อากาศ น้ำ แสงสว่าง เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องอุปโภคบริโภค เป็นต้น
การดำรงชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ ต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอดทุกยุคสมัย ในระยะแรก ๆ เนื่องจากจำนวนประชากรยังมีไม่มากประกอบกับทรัพยากรธรรมชาติในสิ่งแวดล้อมยังมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ การกระทำของมนุษย์เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพของสิ่งแวดล้อมยังมีไม่มาก และธรรมชาติยังมีความสามารถรองรับและฟื้นตัวได้เองจากการกระทำของธรรมชาติเองและจากการกระทำของมนุษย์ได้เกือบหมด ดังนั้นประเด็นปัญหาปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจึงถูกละเลย และไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร

ที่มา www.tantee.net/.../

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต

ความสัมพัธ์ระหว่างงมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต
สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในธรรมชาติ  มีการดำรงชีวิตร่วมอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่โดยรอบ  สิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ่งไร้ชีวิต  เช่น  น้ำ  หิน  ฟ้า  อากาศ  และสิ่งแวดล้อมมีชีวิต  ซึ่งอาจเป็นสิ่งมีชีวิตเดียวกับสิ่งมีชีวิตนั้น  หรือเป็นสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน  การที่สิ่งมีชีวิตหลายชนิดอยู่รวมกันในบริเวณเดียวกัน  เรียกว่า  กลุ่มสิ่งมีชีวิตหรือสังคมสิ่งมีชีวิต  บริเวณที่อาศัยของกลุ่มสิ่งมีชีวิตอาจแตกต่างกันไป  ทั้งบนบกและในน้ำ  ตัวอย่างของแหล่งที่อาศัยอยู่บนบก  เช่น  ในสนามหญ้า  บนต้นไม้  ขอนไม้ผุ  นาข้าว  ในป่า  ตัวอย่างของแหล่งที่อาศัยอยู่ในน้ำ  เช่น บ่อ บึง  ลำธาร  น้ำตก  ทะเล 
กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันในแหล่งที่อาศัยแห่งเดียวกันมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน  โดยอาจมีความสัมพันธ์ทั้งในการแก่งแย่ง  กรือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  พร้อมกับมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมของที่อยู่อาศัยที่ส่วนใหญ่เป็นสิ่งไร้ชีวิต  เช่น  ดิน  นำ  แสงสว่าง  แร่ธาตุ  ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่เดียวกันและสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่ไร้ชีวิต   เรียกว่าระบบนิเวศ 
 Photobucket

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต

ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับระบบนิเวศ

ระบบนิเวศ
        สิ่งแวดล้อม คือ สรรพสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา แบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบใหญ่ คือ สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ ได้แก่ มนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก และอีกองค์ประกอบหนึ่ง คือสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ คือ ดิน น้ำ ป่าไม้ อากาศ แสง ฯลฯ และสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นได้แก่ สิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน ศิลปกรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม เป็นต้น
ที่มา    http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/5-4/no02-44/biosystem.html    


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต

ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศ

1.  ความหมายของระบบนิเวศ (Ecosystem)
                   ระบบนิเวศเป็นหน่วยที่สำคัญที่สุดในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต   และสิ่งแวดล้อม  เพราะประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด  มีการแลกเปลี่ยนสสาร แร่ธาตุ และพลังงานกับสิ่งแวดล้อม  โดยผ่านห่วงโซ่อาหาร (food chain)  มีลำดับของการกินเป็นทอด ๆ ทำให้สสารและแร่ธาตุมีการหมุนเวียนไปใช้ในระบบจนเกิดเป็นวัฏจักร  ทำให้มีการถ่ายทอดพลังงานไปตามลำดับขั้นเป็นช่วง ๆในห่วงโซ่อาหารได้  การจำแนกองค์ประกอบของระบบนิเวศ ส่วนใหญ่จะจำแนกได้เป็นสององค์ประกอบใหญ่ ๆ คือ องค์ประกอบที่มีชีวิตและองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต

ผลที่เกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อม
    ผลสืบเนื่องอันเกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอ เนื่องจาก มีการใช้ทรัพยากรกันอย่างไม่ประหยัด อาทิ ป่าไม้ถูกทำลาย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ขาดแคลนน้ำ ภาวะมลพิษ (Pollution) เช่น มลพิษในน้ำ ในอากาศและเสียง มลพิษในอาหาร สารเคมี อันเป็นผลมาจากการเร่งรัดทางด้านอุตสาหกรรมนั่นเอง
ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/arunee_w/cheevit/sec00p03.html

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต

สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม

สาเหตุหลักของปัญหาสิ่งแวดล้อมมีอยู่ 2 ประการด้วยกัน คือ
1. การเพิ่มของประชากร (Population growth) ปริมาณการเพิ่มของประชากรก็ยังอยู่ในอัตราทวีคูณ (Exponential Growth) เมื่อผู้คนมากขึ้นความต้องการบริโภคทรัพยากรก็เพิ่มมากขึ้นทุกทางไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน
2. การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี (Economic Growth & Technological Progress) ความเจริญทางเศรษฐกิจนั้นทำให้มาตรฐานในการดำรงชีวิตสูงตามไปด้วย มีการบริโภคทรัพยากรจนเกินกว่าความจำเป็นขั้นพื้นฐานของชีวิต มีความจำเป็นต้องใช้พลังงานมากขึ้นตามไปด้วย ในขณะเดียวกันความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีก็ช่วยเสริมให้วิธีการนำทรัพยากรมาใช้ได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น
ที่มา http://nan2369.tripod.com/data/sh.htm