วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต

อิทธพลของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม


ในสมัยก่อนที่ประชากรของมนุษย์บนโลกยังมีจำนวนเพียงเล็กน้อยนั้น การดำเนินชีวิตของมนุษย์ไม่ได้สร้างผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมแต่อย่างไร แต่ต่อมาเมื่อมนุษย์เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการพัฒนาวิถีชีวิตด้วยเทคโนโลยีให้มีความเป็นอยู่สุขสบายดี การบุกรุกสภาพสมดุลของธรรมชาติจึงเกิดขึ้นอย่างรุนแรง
ปัจจุบันนี้มนุษย์มักจะทำให้ระบบนิเวศในโลกนี้เป็นระบบนิเวศที่ธรรมดา โดยเฉพาะการเกษตรในปัจจุบันได้พยายามลดระดับต่าง ๆ ในห่วงโซ่อาหารให้เหลือน้อยที่สุด โดยการกำจัดพืชและหญ้าหลายชนิดไปเพื่อพืชชนิดเดียว เช่น ข้าวสาลี หรือข้าวโพด ซึ่งทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นแต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้ความมั่นคงระบบนิเวศลดน้อยลง หากมีโรคระบาดเกิดขึ้น โอกาสที่ระบบนิเวศจะถูกทำลายก็จะมีมาก
นอกจากนั้น บริเวณการเกษตรทั่วโลกก็นับเป็นบริเวณที่ระบบนิเวศถูกทำลายมาก ทั้งนี้เพราะมีการใช้ยากำจัดศัตรูพืชกันอย่างแพร่หลาย สารพิษที่เกิดจากการเกษตรและอุตสาหกรรมต่าง ๆ เหล่านี้จะสามารถถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตระดับสูง ๆ ได้ตามห่วงโซ่อาหาร จึงมักสะสมอยู่ในสิ่งมีชีวิตในปริมาณที่เข้มข้นกว่าที่มีในสิ่งแวดล้อมเสมอ ดังตัวอย่างของการใช้ DDT
เมื่อมีการใช้ยากำจัดศัตรูพืชในบริเวณที่หนึ่ง DDT ซึ่งเป็นส่วนผสมของยากำจัดศัตรูพืชนั้น จะตกค้างอยู่ในดินถูกชะล้างลงในแม่น้ำและสะสมอยู่ในแพลงค์ตอน เมื่อสัตว์น้ำชนิดอื่น เช่น ปลามากินแพลงค์ตอน DDT ก็จะเข้าไปสะสมในตัวปลาเป็นปริมาณมากกว่าที่อยู่ในแพลงค์ตอนและเมื่อนกซึ่งกินปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ เข้าไป ก็จะสะสมไว้ในปริมาณสูง เมื่อสัตว์อื่นมากินนกก็ยิ่งจะทำให้การสะสม DDT ในตัวมันสูงมากขึ้นไปอีก ถ้า DDT สูงขึ้นถึงขีดอันตรายก็จะทำให้สัตว์ตายได้หรือไม่ก็ผิดปกติ DDT ส่วนใหญ่จะสะสมในเนื้อเยื่อไขมันและขัดขวางการเกาะตัวของ แคลเซี่ยมที่เปลือกไข่ทำให้ไข่บางแตกง่ายและไม่สามารถฟักออกเป็นตัวได้มีรายงานว่าในประเทศสวีเดน และในประเทศญี่ปุ่นมีนกบางชนิดสูญพันธุ์ไปแล้ว เนื่องจากผลกระทบสะสมตัวของ DDT
การพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ นั้นจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศ มิฉะนั้นก็อาจจะเกิดผลเสียหายร้ายแรง ทั้งต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคมและความเป็นอยู่ของมนุษย์เอง ตัวอย่างเช่น การสร้างเขื่อนทำให้เกิดบริเวณน้ำขังจำนวนมหาศาลอาจทำให้เกิดการระบาดของโรคเนื่องจากพาหะของโรคนั้นสามารถเติบโตได้ดีในบริเวณน้ำนิ่ง
ที่มา http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi1/ecosystem/b7.htm

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต

ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต

สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต ( Abiotic Environments ) หมายถึงสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีคุณสมบัติของสิ่งมีชีวิต ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้น เช่น อากาศ น้ำ แสงสว่าง เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องอุปโภคบริโภค เป็นต้น
การดำรงชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ ต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอดทุกยุคสมัย ในระยะแรก ๆ เนื่องจากจำนวนประชากรยังมีไม่มากประกอบกับทรัพยากรธรรมชาติในสิ่งแวดล้อมยังมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ การกระทำของมนุษย์เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพของสิ่งแวดล้อมยังมีไม่มาก และธรรมชาติยังมีความสามารถรองรับและฟื้นตัวได้เองจากการกระทำของธรรมชาติเองและจากการกระทำของมนุษย์ได้เกือบหมด ดังนั้นประเด็นปัญหาปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจึงถูกละเลย และไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร

ที่มา www.tantee.net/.../

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต

ความสัมพัธ์ระหว่างงมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต
สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในธรรมชาติ  มีการดำรงชีวิตร่วมอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่โดยรอบ  สิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ่งไร้ชีวิต  เช่น  น้ำ  หิน  ฟ้า  อากาศ  และสิ่งแวดล้อมมีชีวิต  ซึ่งอาจเป็นสิ่งมีชีวิตเดียวกับสิ่งมีชีวิตนั้น  หรือเป็นสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน  การที่สิ่งมีชีวิตหลายชนิดอยู่รวมกันในบริเวณเดียวกัน  เรียกว่า  กลุ่มสิ่งมีชีวิตหรือสังคมสิ่งมีชีวิต  บริเวณที่อาศัยของกลุ่มสิ่งมีชีวิตอาจแตกต่างกันไป  ทั้งบนบกและในน้ำ  ตัวอย่างของแหล่งที่อาศัยอยู่บนบก  เช่น  ในสนามหญ้า  บนต้นไม้  ขอนไม้ผุ  นาข้าว  ในป่า  ตัวอย่างของแหล่งที่อาศัยอยู่ในน้ำ  เช่น บ่อ บึง  ลำธาร  น้ำตก  ทะเล 
กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันในแหล่งที่อาศัยแห่งเดียวกันมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน  โดยอาจมีความสัมพันธ์ทั้งในการแก่งแย่ง  กรือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  พร้อมกับมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมของที่อยู่อาศัยที่ส่วนใหญ่เป็นสิ่งไร้ชีวิต  เช่น  ดิน  นำ  แสงสว่าง  แร่ธาตุ  ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่เดียวกันและสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่ไร้ชีวิต   เรียกว่าระบบนิเวศ 
 Photobucket

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต

ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับระบบนิเวศ

ระบบนิเวศ
        สิ่งแวดล้อม คือ สรรพสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา แบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบใหญ่ คือ สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ ได้แก่ มนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก และอีกองค์ประกอบหนึ่ง คือสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ คือ ดิน น้ำ ป่าไม้ อากาศ แสง ฯลฯ และสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นได้แก่ สิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน ศิลปกรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม เป็นต้น
ที่มา    http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/5-4/no02-44/biosystem.html    


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต

ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศ

1.  ความหมายของระบบนิเวศ (Ecosystem)
                   ระบบนิเวศเป็นหน่วยที่สำคัญที่สุดในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต   และสิ่งแวดล้อม  เพราะประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด  มีการแลกเปลี่ยนสสาร แร่ธาตุ และพลังงานกับสิ่งแวดล้อม  โดยผ่านห่วงโซ่อาหาร (food chain)  มีลำดับของการกินเป็นทอด ๆ ทำให้สสารและแร่ธาตุมีการหมุนเวียนไปใช้ในระบบจนเกิดเป็นวัฏจักร  ทำให้มีการถ่ายทอดพลังงานไปตามลำดับขั้นเป็นช่วง ๆในห่วงโซ่อาหารได้  การจำแนกองค์ประกอบของระบบนิเวศ ส่วนใหญ่จะจำแนกได้เป็นสององค์ประกอบใหญ่ ๆ คือ องค์ประกอบที่มีชีวิตและองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต

ผลที่เกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อม
    ผลสืบเนื่องอันเกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอ เนื่องจาก มีการใช้ทรัพยากรกันอย่างไม่ประหยัด อาทิ ป่าไม้ถูกทำลาย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ขาดแคลนน้ำ ภาวะมลพิษ (Pollution) เช่น มลพิษในน้ำ ในอากาศและเสียง มลพิษในอาหาร สารเคมี อันเป็นผลมาจากการเร่งรัดทางด้านอุตสาหกรรมนั่นเอง
ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/arunee_w/cheevit/sec00p03.html

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต

สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม

สาเหตุหลักของปัญหาสิ่งแวดล้อมมีอยู่ 2 ประการด้วยกัน คือ
1. การเพิ่มของประชากร (Population growth) ปริมาณการเพิ่มของประชากรก็ยังอยู่ในอัตราทวีคูณ (Exponential Growth) เมื่อผู้คนมากขึ้นความต้องการบริโภคทรัพยากรก็เพิ่มมากขึ้นทุกทางไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน
2. การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี (Economic Growth & Technological Progress) ความเจริญทางเศรษฐกิจนั้นทำให้มาตรฐานในการดำรงชีวิตสูงตามไปด้วย มีการบริโภคทรัพยากรจนเกินกว่าความจำเป็นขั้นพื้นฐานของชีวิต มีความจำเป็นต้องใช้พลังงานมากขึ้นตามไปด้วย ในขณะเดียวกันความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีก็ช่วยเสริมให้วิธีการนำทรัพยากรมาใช้ได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น
ที่มา http://nan2369.tripod.com/data/sh.htm

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต

องค์ประกอบของสิ่งแวดล้อม


สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ  มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์  ทั้งทางตรงและทางอ้อม มีองค์ประกอบ 3  ประการดังนี้           
             1.   ลักษณะภูมิประเทศ
             2.   ลักษณะภูมิอากาศ
             3.  ทรัพยากรธรรมชาติ
ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดลักษณะภูมิประเทศ
             1.  พลังงานภายในเปลือกโลก  ทำให้เปลือกโลกผันแปร  บีบอัดให้ยกตัวสูงขึ้น  กลายเป็นภูเขาที่ราบสูง  หรือทรุดต่ำลง  เช่น เหว  แอ่งที่ราบ
             2.  ตัวกระทำทางธรรมชาติภายนอกเปลือกโลก  ทำให้เปลือกโลกเกิดการสึกกร่อนพังทลายหรือทับถม  ได้แก่  ลม  กระแสน้ำ ธารน้ำแข็ง
             3.   การกระทำของมนุษย์  เช่น  การสร้างเขื่อนเพื่อการชลประทาน   การตัดถนนเข้าไปในป่า  ทำให้ลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่นั้นๆเปลี่ยนไปจากเดิม
ความสำคัญของลักษณะภูมิประเทศ
             1.  ความสำคัญต่อมนุษย์  ลักษณะภูมิประเทศมีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐาน  การประกอบอาชีพของมนุษย์  เช่น  ที่ราบลุ่มแม่น้ำ
             2.  ความสำคัญต่อภูมิอากาศของท้องถิ่น  ภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาสูง  ย่อมมีอิทธิพลต่อลักษณะภูมิอากาศของท้องถิ่น  เช่น  ทำให้เกิดเขตเงาฝน
            3.   ความสำคัญต่อทรัพยากรธรรมชาติ  เช่น  เขตเทือกเขาสูง  ย่อมอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุ  ป่าไม้และสัตว์ป่า
ประเภทของลักษณะภูมิประเทศ
          ลักษณะภูมิประเทศจำแนกได้ 2 ประเภท  ดังนี้
            1.  ลักษณะภูมิประเทศอย่างใหญ่  เห็นได้ชัดและเกิดในอาณาบริเวณที่กว้างขวาง  เป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวภายในของเปลือกโลก  ทำให้เปลือกโลกยกตัวขึ้นสูงหรือทรุดต่ำลง  โดยคงลักษณะเดิมไว้นานๆ  เช่น  ที่ราบ  ที่ราบสูง  เนินเขา  และภูเขา
            2.   ลักษณะภูมิประเทศอย่างย่อย  มีอาณาบริเวณไม่กว้างนัก  อาจเปลี่ยนแปลงรูปได้  มักเกิดจากการกระทำของธารน้ำแข็ง  กระแสลม คลื่น  เช่น  แม่น้ำ ทะเลสาบ  อ่าว  แหลม  น้ำตก
ประเภทของที่ราบ แบ่งตามลักษณะของการเกิด
            1.  ที่ราบดินตะกอน  พบตามสองฝั่งของแม่น้ำ  เกิดจาการทับถมของดินตะกอนที่น้ำพัดพา
            2.  ที่ราบน้ำท่วมถึง  เป็นที่ราบลุ่มในบริเวณแม่น้ำ  มีน้ำท่วมขังในฤดูฝน  เกิดจากการทับถมของดินตะกอนหรือวัสดุน้ำพา
            3.  ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยม เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำบริเวณปากแม่น้ำ  เกิดจากการทับถมของโคลนตะกอนวัสดุน้ำพาจนกลายเป็นที่ราบรูปพัด
            4.  ลานตะพักลำน้ำ  คือ  ที่ราบลุ่มแม่น้ำอีกประเภทหนึ่ง  แต่อยู่ห่างจากสองฝั่งแม่น้ำออกไป  น้ำท่วมไม่ถึง  ดินค่อนข้างอุดมสมบูรณ์  บางที่เรียกว่า  ที่ราบขั้นบันได
ความสำคัญของภูมิอากาศ
            1.  ความสำคัญที่มีต่อลักษณะภูมิประเทศ  ภูมิอากาศทำให้ท้องถิ่นมีลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกัน
            2.  ความสำคัญที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติ  เช่น  ภูมิอากาศร้อนชื้น  ฝนชุก  จะมีทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าบางชนิดชุกชุม
            3.  ความสำคัญที่มีต่อมนุษย์  ภูมิอากาศย่อมมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่  การแต่งกาย  บ้านเรือน
ปัจจัยที่มำให้ภูมิอากาศของท้องถิ่นต่างๆมีความแตกต่างกัน
            1.  ที่ตั้ง  คือ  ละติจูดของพื้นที่
            2.  ลักษณะภูมิประเทศ  คือ  ความสูงของพื้นที่
            3.  ทิศทางลมประจำ  เช่น  ลมประจำปี
            4.   หย่อมความกดอากาศ
            5.   กระแสน้ำในมหาสมุทร
ที่ตั้ง  หรือ ละติจูดของพื้นที่
           ละติจูดของพื้นที่มีผลต่อปริมาณความร้อนที่ได้รับจากแสงอาทิตย์  ดังนี้
            1.  เขตละติจูดต่ำ  ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ตลอดทั้งปี  จึงมีอากาศร้อน
            2.  เขตละติจูดสูง  ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์  ความร้อนที่ได้รับมีน้อย  จึงเป็นเขตอากาศหนาวเย็น
            3.  เขตละติจูดปานกลาง  ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์มากน้อยตามฤดูกาล  จึงมีอากาศอบอุ่น
ความอยู่ใกล้  หรือไกลทะเล
             มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศของท้องถิ่น  ดังนี้
            1.พื้นที่ที่อยู่ใกล้ทะเล  จะได้รับอิทธิพลจากพื้นน้ำ  ทำให้ฝนตกมากและอากาศเย็น
            2.พื้นที่ที่อยู่ไกลทะเล   เช่น  อยู่กลางทวีป  อากาศจะแห้งแล้ง
ความสูงของพื้นที่  มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศของท้องถิ่น
          พื้นที่ยิ่งสูงอากาศยิ่งหนาวเย็น  เนื่องจากความร้อนที่ผิวพื้นโลกได้รับจากดวงอาทิตย์จะแผ่สะท้อนกลับสู่บรรยากาศ  ดังนั้นบริเวณที่อยู่ใกล้พื้นผิวโลกจึงมีความร้อนมาก
การขวางกั้นของเทือกเขาสูง
            มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศของท้องถิ่น    ถ้าเทือกเขาสูง  วางตัวกั้นทิศทางของลมประจำ  เช่น  ลมมรสุมฤดูฝน  จะเป็นผลให้ด้านหน้าของเทือกเขาได้รับความชุ่มชื้น  มีฝนตกชุก ส่วนด้านหลังของเทือกเขาเป็นเขตอับลมฝนแห้งแล้ง ที่เรียกกันว่า  เขตเงาฝน
การจำแนกเขตภูมิอากาศโลกตามวิธีการของเคิปเปน
            เคิปเปน  นักภูมิอากาศวิทยาชาวออสเตรีย  ได้กำหนดประเภทภูมิอากาศของโลกออกเป็น 6 ประเภท  โดยกำหนดสัญลักษณ์เป็นภาษาอังกฤษ  ดังนี้
           1.  แบบร้อนชื้น (a)  มีอุณหภูมิสูงตลอดทั้งปี  ฝนตกชุก  พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าดงดิบ
           2.  แบบแห้งแล้ง (b)  มีอุณหภูมิสูง  แห้งแล้ง มีฝนตกน้อยมาก  พืชพรรณเป็นพืชทะเลทราย
           3.  แบบอบอุ่น  หรือชื้น อุณหภูมิปานกลาง (c)  อากาศอบอุ่น  อุณหภูมิปานกลาง  พืชพรรณเป็นป่าไม้ผลัดใบเขตอบอุ่น
           4.  แบบหนาวเย็น  อุณหภูมิต่ำ  (d) อากาศหนาวเย็น  อุณหภูมิต่ำ  พืชพรรณเป็นป่าผลัดใบเขตอบอุ่น  ป่าเขตหนาว  และทุ่งหญ้าแพรี
           5.  แบบขั้วโลก (e)  อากาศหนาวเย็นมากที่สุด อุณหภูมิต่ำมาก  พืชพรรณเป็นหญ้ามอส  และตะไคร่น้ำ
            6. แบบภูเขาสูง  (h) เป็นลักษณะภูมิอากาศแบบพิเศษ  พบในเขตภูเขาสูง  มีภูมิอากาศหลายแบบทั้ง a, c, d  อยู่ร่วมกันตามระดับความสูงของภูเขา  ยิ่งสูงอากาศยิ่งหนาว  พืชพรรณธรรมชาติจะเปลี่ยนแปลงไปตามระดับความสูงของพื้นที่
หลักเกณฑ์การแบ่งเขตภูมิอากาศของเคิปเปน
           เคิปเปน  มีหลักเกณฑ์การพิจารณา 3 ประการ  ดังนี้
                  1.  อุณหภูมิของอากาศในท้องถิ่น
                  2.  ปริมาณฝนของท้องถิ่น
                  3.  ลักษณะพืชพรรณของท้องถิ่น
ทรัพยากรธรรมชาติ
           ทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์  มี 4 ประเภท  ดังนี้
                    1. ดิน                         2.  น้ำ                        3. แร่ธาตุ                         4.  ป่าไม้
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
             1.  การเพิ่มของจำนวนประชากร  ทำให้การบริโภคทรัพยากรสิ้นเปลืองอย่างรวดเร็ว
             2.  การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่  เช่น  เลื่อยไฟฟ้าตัดไม้ในป่า
             3.  การบริโภคฟุ่มเฟือย  ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม  สนับสนุนให้ประชาชนมีวัฒนธรรมการบริโภคที่ฟุ่มเฟือย  ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติสูญสิ้นอย่างรวดเร็ว
ปัจจัยที่ทำให้ดินในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน
             ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์   ประกอบด้วย  อนินทรีย์วัตถุ  มีร้อยละ  45 อินทรีย์วัตถุ  มีร้อยละ 5  น้ำร้อยละ 25  และอากาศร้อยละ  25  ปัจจัยที่ทำให้ดินในแต่ละท้องถิ่นมีความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกัน  คือ
            1.  ลักษณะภูมิประเทศ  พื้นที่ลาดชันมาก  การสึกกร่อนพังทลายของดินมีมาก
            2.   ลักษณะภูมิอากาศ  ในเขตร้อนชื้น  ฝนตกชุก    การชะล้างของดินและการผุพังสลายตัวของแร่ธาตุ  ซากพืชซากสัตว์ในดินจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว  ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพเร็ว
            3.  สัตว์มีชีวิตในดิน  เช่น  ไส้เดือน  จุลินทรีย์ในดิน  จะช่วยย่อยซากพืชซากสัตว์  ทำให้ดินได้รับฮิวมัสเพิ่มมากขึ้น
ปัจจัยสำคัญที่ควบคุมความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรน้ำ
             1.  น้ำบนดิน  ได้แก่  แม่น้ำ  ลำคลอง  หนอง  บึง
             2.  น้ำใต้ดิน หมายถึง  น้ำบาดาล  ปริมาณน้ำใต้ดินจะมีมากน้อย ขึ้นกับ
                  -  ปริมาณฝนของพื้นที่นั้นๆ
                  -  ความสามารถในการเก็บกักน้ำของชั้นหินใต้พื้นดิน
ประเภทของแร่ธาตุ
           1.  แร่โลหะ  คือแร่ที่ประกอบด้วยธาตุโลหะ   มีความวาวให้สีผงเป็นสีแก่  ได้แก่  xxxีบุก  ทังสเตน  พลวง
           2.  แร่อโลหะ  คือแร่ที่ไม่มีความวาวแบบโลหะ  ให้สีผงเป็นสีอ่อน ได้แก่  ดินขาว หินปูน  หินอ่อน
           3.  แร่เชื้อเพลิง  คือแร่ที่มีสารประกอบประเภทไฮโดรคาร์บอน  ทำเป็นเชื้อเพลิง  ได้แก่  น้ำมันปิโตรเลียม  ก๊าซธรรมชาติ
           4.  แร่นิวเคลียร์    คือแร่ที่นำมาใช้ในกิจการพลังงานปรมาณู  เช่น  ยูเรเนียม
การจำแนกประเภทของป่าไม้
          1.  ป่าไม้ไม่ผลัดใบ  มีใบเขียวตลอดปี  พบในเขตฝนชุก  มี 4 ชนิด  ดังนี้
                 1.1  ป่าดงดิบ  มีลักษณะเป็นป่ารกทึบ
                 1.2  ป่าดิบเขา  มีลักษณะคล้ายป่าดงดิบ
                 1.3  ป่าสนเขา  เป็นไม้สน  ขึ้นในเขตภูเขาสูง
                 1.4  ป่าชายเลน  ขึ้นตามชายฝั่งทะเลที่มีหาดเลน  บางที่เรียกว่า  ป่าเลนน้ำเค็ม
           2.  ป่าไม้ผลัดใบเป็นป่าไม้ที่ผลัดใบในฤดูแล้ง  มี   2 ชนิด  ดังนี้
                2.1  ป่าเบญจพรรณ  เป็นป่าโปร่ง  ผลัดใบในฤดูแล้ง
                2.2  ป่าแดง  เป็นป่าโปร่ง  มีทุ่งหญ้าสลับทั่วไป
Ref : http://www.dektriam.net/TopicRead.aspx?topicID=49256&start=0 07/06/2008


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต

สิ่งแวดล้อมหมายถึงอะไร




ความหมายของสิ่งแวดล้อมของแต่ละท่าน แต่ละองค์กร แต่ละประเทศ อาจมีความแตกต่างกันบ้างในตัวอักษร เพื่อให้ทุกคนเข้าใจได้ตรงกัน จึงขอนำภาครวมที่พิมพ์เผยแพร่โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมในหนังสือความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม มาให้ท่านทั้งหลายได้รับทราบดังนี้
เมื่อกล่าวถึงคำว่า "สิ่งแวดล้อม" ก็มักจะมีผู้เข้าใจกันไปถึงเรื่องของน้ำเน่า ควันและไอเสีย จากรถยนต์ หรือมูลฝอย ฯลฯ แต่โดยความเป็นจริงแล้ว สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่มีความหมายและขอบเขตกว้างกว่านั้นมาก เนื่องจากสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาในเรื่องของความสมดุลตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการใช้ทรัพยากรที่ไม่ถูกต้องนั่นเอง
นักวิชาการสิ่งแวดล้อมหลายท่าน ได้พยายามให้คำจำกัดความของคำว่า "สิ่งแวดล้อม"อยู่เนือง ๆ แต่ก็โดยเหตุที่ว่าสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องกว้างขวางนี่เอง จึงทำให้คำจำกัดความและความหมายแตกต่างกันไปบ้าง อย่างไรก็ตาม ทุกท่านก็ได้ยึดถือหลักการเดียวกันและเข้าใจตรงกันทั้งสิ้น เพื่อที่จะให้เกิดความเข้าใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อมทั่วไป เราอาจสรุปความหมายอย่างง่าย ๆ ถึงสิ่งแวดล้อมได้ว่า
"สิ่งแวดล้อม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรม คือ จับต้องแล้วมองเห็นได้ และนามธรรม คือ วัฒนธรรมแบบแผน ประเพณี ความเชื่อ มีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน เป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ผลกระทบจากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างหรือทำลายอีกส่วนหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ สิ่งแวดล้อมเป็นวงจรและวัฏจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ"


  ที่มา http://www.bangkokhealth.com/index.php/2009-01-19-04-20-20/1885-2009-01-26-03-09-20

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การให้อาหารผิว

เคล็ดลับผิวสวยด้วยน้ำ

ดื่มน้ำเฉพาะตอนที่คอแห้ง เพื่อดับกระหาย หรือดื่มระหว่างทานอาหารเท่านั้น คงยังไม่เพียงพอ!! ถ้าอยากผิวสวยและสุขภาพดี แบบไม่ต้องลงทุนซื้อครีมบำรุงกระปุกละเป็นหมื่น ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดื่มน้ำกันใหม่ ด้วย 7 เทคนิคการดื่มน้ำสไตล์เอเวียงจากฝรั่งเศส

1) เริ่มต้นวันใหม่ด้วยการดื่มน้ำ ลองดื่มน้ำแร่ธรรมชาติให้ได้วันละ 2 ลิตร ติดต่อกันเป็นเวลา 2 สัปดาห์ เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำบริสุทธิ์ในปริมาณที่ต้องการ และคุณจะสังเกตเห็นความแตกต่าง น้ำไม่เพียงจะช่วยให้ผิวพรรณสดใสเปล่งปลั่ง แต่ยังควบคุมอุณหภูมิในร่างกายให้เหมาะสม, ช่วยย่อยและดูดซึมอาหาร รวมทั้งขับของเสียไปตามกระแสเลือด

2) วางน้ำดื่มไว้ข้างเตียงก่อนเข้านอน ถ้าตื่นขึ้นมากลางดึก จะได้เทน้ำดื่มสักแก้ว เพื่อเพิ่มความสดชื่นให้ร่างกาย และช่วยให้สามารถนอนหลับต่อได้อย่างง่ายดาย

3) พกพาน้ำดื่มติดตัวไปทุกที่ ทั้งในรถ, ระหว่างการเดินทาง, เวลานั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ หรือตอนดู ทีวี การดื่มน้ำให้ติดเป็นนิสัยจะทำให้สุขภาพดี

4) ดื่มน้ำจากขวดให้ได้บ่อยที่สุด เป็นวิธีที่ดีในการเพิ่มปริมาณการดื่มน้ำของคุณ เพราะทำให้ดื่มง่ายและสะดวกต่อการพกพา

5) ดื่มน้ำให้สม่ำเสมอเมื่อเล่นกีฬา โดยดื่มน้ำก่อนและระหว่างการออกกำลังกาย นอกจากนี้ ยังควรดื่มน้ำหลังจากเล่นกีฬาในปริมาณที่มากพอ เพื่อชดเชยการเสียเหงื่อของร่างกาย

6) ไดเอตด้วยน้ำ ดื่มน้ำ 1 แก้ว ก่อนรับประทานอาหารกลางวัน จะช่วยลดอาการหิว และควบคุมปริมาณการทานอาหาร

7) ดื่มน้ำหลังอาหารกลางวัน ช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแคลอรีสูงประเภทอื่นๆได้.

ขอบคุณเนื้อหาดีดีจาก  หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

สุขภาพที่ดี

ดูดี๋ ดูดี สวยรับลมหนาว  เคล็ดลับดีๆที่ต้องบอกต่อ